วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทยแห่เทียนที่อุบลราชธานี


ประเพณีไทยแห่เทียนที่อุบลราชธานี

      ความจริงประเพณีไทยการแห่เทียนมีอยู่ทุกท้องถิ่นและทุกหมู่บ้านของภาคอีสาน แต่ที่เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงที่จังหวัดอุบลราชธานีก็เพราะที่นั่นมีการจัดประกวดแข่งขันความสวยงามทั้งต้นเทียนและขบวนแห่และมีองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเข้าไปส่งเสริมด้วย ทำให้การแห่เทียนที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งๆ ที่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด นครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น ก็ได้ทำกันมาคล้ายๆกัน เมื่อที่อุบลฯเป็นที่รู้จักจึงเป็นประหนึ่งว่าจังหวัดอุบลฯเป็นจะเริ่มแรก
      หากศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีไทยการแห่เทียนที่อุบลฯก็จะเห็นว่าชาวอุบลฯได้มีการแห่เทียนมาตั้งนานแล้วคือราวประมาณ พ.ศ.๒๔๘๐ มีช่างคนหนึ่งชื่อ นายโพธิ์ ส่งศรี (ช่างตีทอง คนโท ขันน้ำ) เป็นช่างที่มีความรู้ความสามารถในการทำลวดลาย ได้เป็นช่างหล่อ ปั้นและออกแบบทำลวดลายลงในลำเทียนใหญ่ ทำให้เทียนมีความสวยงามและนำไปถวายที่วัดปัฎวนารามวรวิหารเป็นครั้งแรก ในการนำไปถวายนั้นต้องใช้คนจำนวนมากช่วยกันเคลื่อนย้ายและมีชาวบ้านแห่ตามไปด้วยทั้งไปดูพิธีกรรมดูความสวยงามของเทียนและไปร่วมบูชาด้วย      เมื่อมีคนเป็นจำนวนมากจึงมีผู้คิดทำให้ขบวนดูมีระเบียบด้วยการจัดแถวจัดขบวน ทำให้การเดินดูมีความสวยงามนั่นเองคือสาเหตุของการแห่เทียนของชาวอีสานในกาลต่อมา
      ต่อจากนั้นคุ้มวัดต่างๆก็เริ่มจัดหล่อต้นเทียนใหญ่กันและนำไปถวายที่วัด คุ้มของตนเองและมีการจัดขบวนแห่ติดตามไปด้วย เมื่อแต่ละคุ้มต่างจัดกันอย่างนั้นแล้ว ทางราชการเห็นความสามัคคีของแต่ละคุ้มดีจึงได้ประกาศให้มีการประกวดต้นเทียนและขบวนแห่กันในราวปี พ.ศ.2483 โดยแต่ละคุ้มต้องแห่เทียนไปไว้ที่ศาลากลางก่อนเพื่อให้กรรมการตัดสิน แต่การประกวดครั้งแรกๆ จะประกวดเฉพาะต้นเทียนเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น