วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร แห่งความสมปรารถนา

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร

 

สำหรับ วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร เป็นวัดสำคัญที่ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพฯ เพราะเป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์เมื่อทรงผนวชหลายพระองค์
แต่เดิมชื่อ วัดใหม่ เป็นวัดโบราณ โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ในรัชการที่3 ได้ทรงมีพระดำริโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก และเป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
ต่อมาเมื่อถึงแผ่นดินรัชกาลที่ 4 พระองค์ก็ได้ทรงผนวช จึงได้เสด็จมาประทับและทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุตติกนิกายขึ้นที่วัดนี้และได้กลายเป็นวัดที่พระมหากษัตริย์องค์ต่อๆมาจนถึงรัชกาลที่ 9 ทรงผนวชที่วัดนี้ ยกเว้นแต่รัชกาลที่ 8 กล่าวกันว่าหากไปไหว้วัดแห่งนี้ จะมีโชคชัยและสมดังที่หวังหรือปรารถนา

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของประเพณีไทยผูกเสี่ยว

ความเป็นมาของประเพณีไทยผูกเสี่ยว 

 

 การผูกเสี่ยวเป็นประเพณีไทยของชาวอีสานที่สืบทอดกันมานานปรากฎหลักฐานในหนังสือที่ถือได้ว่าเป็นวรรณคดีของภาคอีสาน เช่น เรื่องรามเกียรติ์ตอนพญาครุฑคิดถึงเสี่ยว และในเรื่องผาแดงนางไอ่ตอนสอนพญานาคแบ่งเมืองกันปกครองและให้สัญญาต่อกันว่า

สองก็ฮักขอดมั่น(ฮัก=รัก)เหมือนฮ่วมเคหัง(ฮ่วม=ร่วม)การครอบคุณเสี่ยวสหายหลายชั้น จึงได้ขอดมั่นหมายฮ่วมไมตรี(ขอด=กอด)เพื่อจัดเป็นใจเดียวบ่ลอยมายม้าง
การปฎิบัติในการผูกเสี่ยว เดิมเป็นประเพณีไทยระหว่างบุคคลและบุคคลหรือระหว่างครอบครัวต่อครอบครัว คือถ้าพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่มองเห็นว่าบุตรหลานของตนมีรูปร่างลักษณะผิวพรรณ นิสัยใจคอหรือมีความสนิทสนมชิดชอบกับบุตรหลานของใครก็ทาบทามขอผูกเป็นเสี่ยว ตอนทาบทามนี้เรียกว่า แฮกเสี่ยว เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงกันแล้วก็ผูกเสี่ยวให้โดยใช้ด้ายสีขาวผูกข้อมือของแต่ละคนเพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่คู่เสี่ยวยิ่งขึ้นบางแห่งก่อนจะผูกเสี่ยวต้องทำพิธีบายศรีสู่ขวัญเสี่ยวก่อนแล้วค่อยใช้ด้ายผูกแขนให้คู่เสี่ยว หลังจากนั้นพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ก็ให้โอวาท ให้พรอบรมสั้งสอนให้คู่เสี่ยวมีความรักนับถือกันตลอดพ่อแม่พี่น้องและวงศาคณาญาติของกันและกัน หลังจากนั้นก็เลี่ยงข้าวปลาอาหารกันตามสมควร
การผูกเสี่ยวนิยมผูกกันก็เฉพาะชายกับชาย หญิงกับหญิงเท่านั้นและต้องมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกันด้วย

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทยอีสานการแห่พระเวสสันดร



ประเพณีไทยอีสานการแห่พระเวสสันดร

เมื่อได้เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ ทางวัดจะตีกลองโฮมพระสงฆ์และญาติโยมจะไปรวมกันที่วัด จัดเอาฆ้องกลองและธรรมมาสน์ พร้อมด้วยพระพุทธรูป แห่ไป ณ.ชายป่าใกล้บ้านซึ่งเป็นป่าที่มีดอกไม้เมื่อไปถึงแล้วต่างคนต่างเก็บเอาดอกไม้มา หัวหน้าพาไหว้พระรับศีลและฟังเทศน์ การเทศน์ในพิธีนี้เทศน์เชิญพระเวสสันดรเข้าเมืองจบแล้วก็แห่แหนตีฆ้อง หามพระพุทธรูปและพระสงห์ออกก่อน ขบวนแห่ดูเป็นการสนุกครึกครื้นมาก เมื่อมาถึงศาลาโรงธรรมก็แห่รอบ ๓ รอบแล้วนำดอกไม้ไปบูชาวางไว้ข้างธรรมมาสน์
      เวลาในการเทศน์ ในวันรวมคือวันแห่พระเวส หรือวันก่อนวันเทศน์หลังจากการแห่พระเวสเข้ามาในวัดแล้ว ตอนกลางคืนทางวัดจะตีกลองโฮม ให้ญาติโยมลงมาวัด เพื่อฟังพระเจริญพระพุทธมนต์รับศีล จากนั้นพระจะเทศน์มาไลยหมื่น มาไลยแสน ซึ่งเป็นการไหว้ครูก่อน พิธีสงฆ์ในวันนี้ก็เสร็จ จากนั้นชาวบ้านจะมีการเฉลิมฉลองกัน โดยมีหกรสพคบตลอดคืน
      เวลาประมาณตีสามตีสี่ของวันรุ่งขึ้น ทางวัดจะตีกลองโฮมอีกเพื่อรวมญาติโยมมาฟังเทศน์ เมื่อมาพร้อมกันแล้วก็ทำพิธีแห่ข้าวพันก้อนทำวัตรเช้าอาราธนาศีล รับศีล อาราธนาเทศน์พระเวส จากนั้นพระจะเริ่มเทศน์สังกาศ อาจจะเป็นเวลาตีสี่กว่าๆจบเทศน์สังกาศแล้วก็เข้าสู่ทศพรกัณฑ์หิมพานต์ทานขันธ์ไปเรื่อยๆจนกระทั่งถึงนครกัณฑ์และฉลอง พระเวสหรืออานิสงส์พระเวส ซึ่งเป็นกัณฑ์สุดท้ายการเทศน์ทั้ง 18 ผูก จะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 17-18 ชั่วโมง พระจะสับเปลี่ยนกันขึ้นเทศน์ไม่ขาดสาย

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทยอีสานงานบุญ บุญแจกข้าว

ประเพณีไทยอีสานงานบุญ บุญแจกข้าว 

ประเพณีไทยบุญแจกข้าวเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เฉพาะญาติสนิท เช่น บิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอา เป็นต้น ปกติจะทำบุญอุทิศให้เมื่อถึงแก่กรรมไปแล้วประมาณไม่เกิน ๑ ปี นานที่สุดไม่เกิน ๓ ปี ซึ่งทำกันเป็นการใหญ่โตเป็นพิเศษ และการทำบุญจะบ่งลงไปเลยว่าทำบุญแจข้าวหาใครคือทำบุญอุทิศให้แก่ใครนั่นเอง การทำบุญแจกข้าวนิยมทำกันหนหนึ่งต่อคนตายคนหนึ่งเท่านั้น นิยมทำกันในเดือนสามและเดือนสี่จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้และมักจะทำบุญให้ตรงกับวันโกนหรือวันพระ 

ประเพณีไทยการทำบุญแจกข้าวชาวอีสานถือเป็นเรื่องสำคัญมากเพราะถือว่าทุกคนเมื่อถึงแก่กรรมแล้วจะต้องได้กินข้าวแจก หากบุคคลใดเมื่อตากไปแล้วไม่มีใครแจกข้าวให้ เข้าใจกันว่าบุคคลนั้นจะต้องได้รับความอดอยากและไม่ไปผุดไปเกิด วิญญาณจะคงวนเวียนคอยหาข้าวแจกอยู่นั่นเอง ตระกูลใดเมื่อญาติสนิทถึงแก่กรรมไม่ทำบุญแจกข้าวให้มักจะเป็นที่ดูหมิ่นของคนอื่นถูกชาวบ้านนินทาในทางไม่ดี หาว่าเป็นผู้ไม่รู้จักบุญคุณ เป็นคนเห็นแก่ตัวไม่รู้จักเสียสละเพื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การดำเนินการทำบุญแจกข้าว เมื่อกำหนดงานบุญแล้ว มีการบอกญาติพี่น้องทุกคนและผู้รักใคร่นับถือในหมู่บ้านใกล้เคียง หรือแม้จะไปอยู่คนละหัวเมืองก็บอกให้ทราบ เพื่อจะได้มาร่วมทำบุญโดยพร้อมเพรียงกัน มีการปลูกปะรำไว้สำหรับญาติพี่น้องได้พักอาศัยในขณะมาร่วมทำบุญด้วย พอถึงวันกำหนดวันงานตอนเช้าจะมีการเลี้ยงญาติพี่น้องที่ได้รับเชิญจนอิ่มหนำสำราญตอนกลางวัน มีการจัดตกแต่งเครื่องไทยทาน ซึ่งเรียกว่า ห่ออัฎฐะ คงหมายถึงการจัดอัฐบริขารนั้นเอง มีการถวายอาหารเพลพระภิกษุและเลี้ยงอาหารกลางวันญาติพี่น้องอีกด้วย บางงานมีการบวชนาค ตอนเย็นมีการฟังพระสวดมนต์ตอนกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดคืน ตอนเช้าถวายอาหารบิณฑบาตและเครื่องไทยทานแต่พระภิกษุสงฆ์ โดยนิมนต์มาที่บ้านของเจ้าภาพ มีพิธีถวายผ้าบังสุกุลเสร็จแล้วฟังเทศน์ กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย และเลี้ยงอาหารแก่ผู้มาร่วมงานอีกครั้งหนึ่งเป็นเสร็จพิธี

ประเพณีไทยอีสานที่เรียกกันว่า แจกข้าง คงหมายถึงนอกจากถวายภัตตาหารและแจกทานแต่พระภิกษุสงฆ์ ยังมีการเลี้ยงอาหารทำนองแจกทานแก่ผู้ไปร่วมงานโดยทั่วถึงกันเป็นพิเศษคือการทำบุญมากกว่าครั้งใดๆนั่นเอง นอกจากบุญแจกข้าวดังกล่าวญาติพี่น้องจะทำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วอีกเล็กๆ น้อยๆ ในบางโอกาศก็ทำได้แล้วแต่ศรัทธา

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทยแห่เทียนที่อุบลราชธานี


ประเพณีไทยแห่เทียนที่อุบลราชธานี

      ความจริงประเพณีไทยการแห่เทียนมีอยู่ทุกท้องถิ่นและทุกหมู่บ้านของภาคอีสาน แต่ที่เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงที่จังหวัดอุบลราชธานีก็เพราะที่นั่นมีการจัดประกวดแข่งขันความสวยงามทั้งต้นเทียนและขบวนแห่และมีองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเข้าไปส่งเสริมด้วย ทำให้การแห่เทียนที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งๆ ที่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด นครราชสีมา ขอนแก่น เป็นต้น ก็ได้ทำกันมาคล้ายๆกัน เมื่อที่อุบลฯเป็นที่รู้จักจึงเป็นประหนึ่งว่าจังหวัดอุบลฯเป็นจะเริ่มแรก
      หากศึกษาประวัติความเป็นมาของประเพณีไทยการแห่เทียนที่อุบลฯก็จะเห็นว่าชาวอุบลฯได้มีการแห่เทียนมาตั้งนานแล้วคือราวประมาณ พ.ศ.๒๔๘๐ มีช่างคนหนึ่งชื่อ นายโพธิ์ ส่งศรี (ช่างตีทอง คนโท ขันน้ำ) เป็นช่างที่มีความรู้ความสามารถในการทำลวดลาย ได้เป็นช่างหล่อ ปั้นและออกแบบทำลวดลายลงในลำเทียนใหญ่ ทำให้เทียนมีความสวยงามและนำไปถวายที่วัดปัฎวนารามวรวิหารเป็นครั้งแรก ในการนำไปถวายนั้นต้องใช้คนจำนวนมากช่วยกันเคลื่อนย้ายและมีชาวบ้านแห่ตามไปด้วยทั้งไปดูพิธีกรรมดูความสวยงามของเทียนและไปร่วมบูชาด้วย      เมื่อมีคนเป็นจำนวนมากจึงมีผู้คิดทำให้ขบวนดูมีระเบียบด้วยการจัดแถวจัดขบวน ทำให้การเดินดูมีความสวยงามนั่นเองคือสาเหตุของการแห่เทียนของชาวอีสานในกาลต่อมา
      ต่อจากนั้นคุ้มวัดต่างๆก็เริ่มจัดหล่อต้นเทียนใหญ่กันและนำไปถวายที่วัด คุ้มของตนเองและมีการจัดขบวนแห่ติดตามไปด้วย เมื่อแต่ละคุ้มต่างจัดกันอย่างนั้นแล้ว ทางราชการเห็นความสามัคคีของแต่ละคุ้มดีจึงได้ประกาศให้มีการประกวดต้นเทียนและขบวนแห่กันในราวปี พ.ศ.2483 โดยแต่ละคุ้มต้องแห่เทียนไปไว้ที่ศาลากลางก่อนเพื่อให้กรรมการตัดสิน แต่การประกวดครั้งแรกๆ จะประกวดเฉพาะต้นเทียนเท่านั้น