วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประเพณีไทยการสวดคาถาปลาค่อ


ประเพณีไทยการสวดคาถาปลาค่อ

ประเพณีไทยการสวดคาถา ปลาค่อ ปลาค่อ หมายถึง ปลาช่อน การสวดคาถาปลาค่อเป็นการทำบุญพิธีขอฝนอย่างหนึ่งของชาวอีสาน ซึ่งควรศึกษาเรียนรู้ประเพณีนี้เอาไว้ประดับความรู้

ประเพณีไทย
ครั้งที่พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาปลาค่อ(ปลาช่อน) อาศัยอยู่ในสระแห่งหนึ่ง คราวหนึ่งเกิดฝนแล้ง น้ำในแม่น้ำลำธารตลอดหนองบึงได้แห้งไปทั่วหมด ทำให้บรรดาสัตว์น้ำทั้งหลาย มี ปลา ปู กุ้ง หอย เป็นต้น ได้รับความทุกข์ทรมานมาก เพื่อเป็นการช่วยสัตว์น้ำทั้งหลาย พระโพธิสัตว์จึงได้แหวกโคลนขึ้นมา ลืมตาแหงนดูท้องฟ้า แล้วกระทำสัจกิริยา แล้วประกาศว่า ข้าพเจ้าถือกำเนิดมาเป็นปลา เป็นผู้ถือศีล ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยได้กินสัตว์เหล่าอื่นเลยแม้แต่ครั้งเดียว ด้วยคำสัตย์นี้ ขอฝนจนตกลงมา ทำให้หมู่ปลาและสัตว์น้ำทั้งหลายพ้นจากทุกข์เถิด พอกล่าวจบถึงกล่าวคำคาถาขอฝน เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวคาถาจบ บันดาลให้ฝนตกลงมาห่าใหญ่ น้ำเจิ่งนองไปเต็มห้วยหนอง สัตว์น้ำทั้งหลายจึงพ้นภยันตรายจากฝนแล้ง ตามความเชื่อถือแต่โบราณจึงเชื่อว่า หากได้ทำบุญและสวดคาถาปลาค่อแล้ว จะช่วยทำให้ฝนตกมาได้
ประเพณีไทยภาคอีสานการสวดคาถาปลาค่อ ก่อนจะเริ่มพิธีกรรมจะต้องเตรียมจัดหาเครื่องสักการบูชาซึ่งมีเทียน ๕ คู่ ดอกไม้ ๕ คู่ และเครื่องไทยทานเตรียมสถานที่อาจจัดเอาที่ใดที่หนึ่งในหมู่บ้านที่เห็นว่าเหมาะสม อาจปลูกปะรำขึ้นเป็นพิเศษก็ได้ ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์เป็นเวลาสามวัน โดยสวดบทสวดเจ็ดตำนานย่อแล้วสวดคาถาปลาค่อให้ได้ ๑๐๘ คาบ หรือตามกำหนดวันคือวันอาทิตย์ ๖  จันทร์ ๑๕ อังคาร ๘ พุธ ๑๗ พฤหัสบดี ๑๙ ศุกร์ ๒๑ เสาร์ ๑๐ ก็ได้ ในช่วงเช้ามีการถวายภัตตาหารตามประเพณีจนครบสามวันเป็นเสร็จพิธี

1 ความคิดเห็น: